ปัจจุบัน การช่วยชีวิตเบื้องต้นแบบ CPR (Cardio
Pulmonary Resuscitation) ได้รับการยอมรับว่า
ปลอดภัย และสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วย ผู้ประสบเหตุฉุกเฉินให้ฟื้นสติ มีโอกาสรอดชีวิตสูง
เพราะทุกที่ ทุกเวลา สามารถเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นได้ตลอดเวลา และในการทำงานก่อสร้างโครงการหนึ่ง
ต้องเกี่ยวข้องกับคนในงานหลายด้าน หากมีเพื่อนร่วมงานคนใดคนหนึ่งเกิดหมดสติระหว่างการทำงาน
CPR จึงเป็นวิธีการสำคัญที่ผู้ปฎิบัติงานควรต้องรู้
และทำให้เป็น…..
อดีต เราคุ้นเคยกับการช่วยชีวติขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support: BLS) เป็นแนวทางปฏิบัติการพื้นฐาน 3 ขั้นตอน C-A-B (Chest
compression-Airway-Breathing) คือ C-การกดหน้าอก กดหน้าอก 30 ครั้ง ช่วยให้มีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนสำคัญ
เช่น หัวใจและสมอง ได้ดี >> A- เปิดทางเดินหายใจ >>
B- ช่วยหายใจ (B) 2 ครั้ง = 30 : 2 หรือการกดหน้าอก
สลับกับการเป่าปากตามจำนวนที่ว่ามา
แต่ปัจจุบันพบว่า
การเป่าปากอาจก่อให้ติดเชื้อกับทั้งผู้ช่วยชีวิตและผู้รับการช่วยเหลือ ซึ่งโรคติดต่อจากทางเดินหายใจ
(การเป่าปาก) จากคนอื่นที่ไม่ใช่ญาติ หรือคนรู้จักมีสัดส่วนสูง การช่วยชีวิตด้วยวิธีเป่าปากจึงถูกยกเลิกไป
นำมาสู่รูปแบบใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นการปั้มหัวใจ (CPR)
100-120 ครั้งต่อนาที ร่วมกับการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจร่วมด้วย(AED) แทน
CPR เป็นการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
ด้วยการปั้มหัวใจผู้ป่วย (โดยไม่ต้องมีขั้นตอนการเป่าปาก) ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นกระทันหัน
โดยใช้ความเร็วในการปั๊มถี่ขึ้น
เพื่อกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้กลับมาทำงานดังเดิม เพราะสมองของคน หากขาดออกซิเจนไปเลี้ยงเกินกว่า
4 นาที จะมีผลทำให้เกิดการสูญเสียของเซลล์สมองบางส่วนไปได้อย่างถาวร
แม้หัวใจจะสามารถกลับมาเต้นใหม่ได้ในภายหลัง
แต่สมองส่วนที่เสียไปแล้วจะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถฟื้นคืนสติกลับมาได้สมบูรณ์เหมือนเดิมอีก
ขั้นตอนง่ายๆ ของการช่วยเหลือเบื้องต้น
หากพบผู้มีอาการหมดสติกระทันหัน หรือขาดออกซิเจนแบบเฉียบพลัน ผู้ช่วยเหลือควรเริ่มจากการประเมินสถานการณ์จริง
และสังเกตอาการง่ายๆ จากการหมดสติ ไม่รู้สึกตัว การไม่หายใจ หรือหายใจเฮือก และการที่หัวใจหยุดเต้น เมื่อประเมินแล้วว่า CPR
ควรเป็นขั้นตอนการช่วยเหลือเบื้องต้นเพื่อใฟ้ผู้ป่วยได้สติคืนมา (การช่วยเหลือนี้เหมาะสำหรับหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่
18 ปีขึ้นไป) จึงดำเนินวิธีการ CPR
วิธีการที่ทุกคนควรเรียนรู้ไว้
เพื่อช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน หรือกรณีประสบเหตุต้องช่วยคนอื่นได้ ดังนี้
1.ประสานมือข้างที่ไม่ถนัดให้อยู่ด้านล่าง
2.สังเกตุจุดกึ่งกลางระหว่างหน้าอก
3.ลำตัวตั้งตรงเหยียดแขนตึงตั้งฉากกับผู้ป่วยพร้อมกดมือลงเป็นจังหวะโดยให้กดต่อเนื่องและสม่ำเสมอให้ลึกลงประมาณ
5-6 เซนติเมตร (กรณีผู้ป่วยอายุ 18ปี ขึ้นไป) กด 100-120 ครั้งต่อนาที
สลับกันกับผู้ช่วย
4.เปิดทางลมโดยใช้มือดันข้างขึ้น
5.สังเกตุการขยับตัวเช่น
ท้อง หรือหน้าอกมีการขยับไหม หากยังไม่ขยับเหมือนเดิมให้ทำซ้ำใหม่ตั้งแต่ข้อ 1และรอจนกว่าทีมแพทย์ฉุกเฉินจะเข้ามาช่วย
ทั้งนี้หากมีอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินอื่นประกอบ
โดยเฉพาะโรคหัวใจ คือ มีอาการจุกเสียดแน่นตรงกลางหน้าอก อึดอัด หายใจไม่สะดวก
ปวดร้าวไปที่คอ แขนซ้าย หรือเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
หัวใจอาจหยุดเต้นอย่างกะทันหัน ควรรีบโทรแจ้งขอความช่วยเหลือมาที่สายด่วน
1669 เพื่อรับคำแนะนำการปฐมพยาบาลอื่นที่จะเป็นการยื้อชีวิตผู้ป่วยไว้ หรือเมื่อผู้ป่วยได้สติจากการปั้มหัวใจ
จะต้องหยุดการปั้มหัวใจ ปล่อยให้ผู้ป่วยหายใจเอง รอรถพยาบาลฉุกเฉินจะมาถึง
การทำ CPR
ที่มีประสิทธิภาพนั้น จะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยได้มาก
2-3 เท่า ดังนั้นการเรียนรู้ CPR และทำให้ถูกวิธี จึงสำคัญต่อชีวิตประจำวันในการทำงาน
เพราะหากวันหนึ่งเราพบเจอเพื่อนร่วมงานหมดสติ ….CPR จะเป็นวิธีที่สามารถยื้อชีวิตเพื่อนร่วมงานไว้ได้อย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น