วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

มีจป.ในบริษัทสำคัญจริงหรือเพราะกฎหมาย??

               วันนี้มีคำถาม ว่าจป. คืออะไร บริษัทเราไม่เห็นต้องมีเลย เอ๊ะแล้วทำไม?? บริษัทเรามีหลายคน อ่านมาถึงตรงนี้ จป. คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งอ้างอิงตามกฎหมายกระทรวงกำหนดมาตรฐานฯ พ.ศ.2549 ซึ่งจะแบ่งไว้เป็น 5 ระดับ คือ
1) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
2) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
3) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
4) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง
5) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
               ซึ่งหน้าที่ในแต่ระดับก็มีแตกต่างกันขึ้นกับลักษณะการประกอบกิจการ จำนวนลูกจ้างโดยสามารถแบ่งแยกได้ ดังนี้
1) การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
2) การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่งดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิดแปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น
3) การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
4) การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า
5) สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
6) โรงแรม
7) ห้างสรรพสินค้า
8) สถานพยาบาล
9) สถาบันทางการเงิน
10) สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
11) สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา
12) สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ
13) สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม ข้อ 1) ถึง 12)
14) กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด
ตารางการกำหนดจป.ในระดับต่างๆ

                         ไม่ว่าจะเป็นจป.ระดับไหน ความสำคัญต้องการให้การปฎิบัติงานทุกประเภท นั้นมีความปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุ ไม่มีการเสียชีวิต กลับกันหากไม่มีการตรวจสอบจากกองตรวจฯ บ้างบริษัทก็ยังละเลยที่จะเจ้าหน้าความปลอดภัยในระดับต่างๆ มาให้ครบและถูกต้อง บางบริษัทก็ยังไม่เข้าใจของการหาเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยเข้ามาทำงาน เพียงเพราะกฎหมายหรือมองเห็น สภาวะเสี่ยง เกี่ยวกับงานที่ปฎิบัติในบริษัทนั้นเอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การใช้บันไดทรงเอ ให้ปลอดภัย

            เมื่อพูดถึงงานติดตั้ง ซ่อม รื้อ ที่ต้องใช้บันไดทรงเอแล้วเชื่อว่าทุกวันนี้ยังมีหลายๆท่านที่ยังใช้งานผิดวิธีในการปฎิบัติงานวันนี้เ...