วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การใช้บันไดทรงเอ ให้ปลอดภัย

            เมื่อพูดถึงงานติดตั้ง ซ่อม รื้อ ที่ต้องใช้บันไดทรงเอแล้วเชื่อว่าทุกวันนี้ยังมีหลายๆท่านที่ยังใช้งานผิดวิธีในการปฎิบัติงานวันนี้เราจะมาดูในการใช้บันไดทรงเอ ให้ปลอดภัย
            ปัจจุบันหากช่างหรือคนงานต้องทำงานที่มีความสูงมากกว่า 1.50 เมตรมักจะใช้บันไดทรงเอ หรือบันไดพาดทำงานซึ่งหากความสูงไม่เกิน 2 เมตรเราก็จะนิยมใช้บันได

            นอกจากนี้การใช้งานบันไดที่ถูกต้องมีข้อควรห้ามสำคัญคือ เราไม่ควรยืนหรือนั่งบนขั้นสุดของบันได เพราะหากเกิดอาการหน้ามืดหรือเสียการทรงตัว การยืนหรือนั่งบนขั้นสูงสุดจะทำให้เราไม่มีหลักยึด แต่หากเรายืนอยู่ขั้นต่ำลงมาอย่างน้อย 2 ขั้นบันได เมื่อเสียการทรงตัวก็ยังสามารถจับขั้นบันไดที่อยู่สูงขึ้นไปเพื่อพยุงตัวได้ อีกทั้งการยืนอยู่บนบันได ไม่ว่าจะเป็นบันไดพาดหรือบันไดทรง A จะต้องพยายามให้ร่างกายกับบันไดสัมผัสกันอย่างน้อย 3 จุดเสมอ ไม่ว่าจะเป็นในกรณีทำงานหรือในกรณีปีนขึ้นลง
                หากเว้นเสียแต่เกินความสูง 2 เมตรทางกฎหมายและทางปฎิบัติก็บังคับให้ตั้งนั่งร้านและใช้ Safety Belt ในการทำงานร่วมด้วยและยังมีข้อห้ามและพึ่งระวังในการใช้งานด้วยบันไดต่างๆดังนี้                 

   1.ตรวจสอบดูว่าบันไดมีการชำรุดเสียหายหรือเปล่า
   2.ให้บันไดอยู่ข้างหน้าเราเมื่อตอนปีน หรือตอนทำงาน
   3.ห้ามมีอุปกรณ์อะไรในมือ ในขณะปีนบันไดอลูมิเนียม
   4.ไม่ควรใช้บันไดที่มีความสูงตั้งแต่ ระยะ1.50 เมตร ควรทำสีแดงหรือใช้แผ่นพลาสติกมาปิดสองขั้นสุดท้ายเพื่อป้องกันการตกและให้ใช้นั่งร้านมาทำงานแทน
               ง่ายๆแค่นี้ก็ทำให้ใช้งานบันไดได้อย่างปลอดภัยและถูกวิธี



วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กฎหมายที่นายจ้างต้องรู้ อบรมหัวข้อนี้จำเป็น

                                          กฎหมายที่นายจ้างต้องรู้ อบรมหัวข้อนี้จำเป็น
                         ว่าด้วยกฎหมายที่ต้องการให้ลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่ และลูกจ้างเดิมที่เปลี่ยนงานต้องได้รับการอบรมอย่างน้อย 6 ชั่วโมงลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้บริหารจัดการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 
1.ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีระยะเวลาอบรม 1.30 ชั่วโมง

2.กฎหมายความปลอดภัย อาชีว อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระยะเวลาอบรม 1.30 ชั่วโมงเช่นกัน

3.ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งใช้เวลาฝึกอบรม 3 ชั่วโมง

                       หลายบริษัทมักมุ่งประเด็นไปที่แต่ผลผลิต end products ทั้งหลายแต่ขาดการปลูกจิตสำนึกด้านการทำงานที่ปลอดภัย ลดค่าใช้จ่ายทั้งทางตรง ทางอ้อม ผลิตสินค้าที่ดี ไม่ใช่ผลิตคนงานที่พิการออกจากสถานประกอบการ
                      สิ่งที่นายจ้างต้องรู้และเสริมสร้างให้ ลูกจ้างและปฎิบัติตามกฎหมาย คือการอบรมตามกฎหมาย และสร้างจิตสำนึกขั้นตอน วิธีการทำงานต่างๆ ในอาชีพหรือตำแหน่งที่ตนเองได้รับมอบหมาย
หากนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
วันนี้เรามีทีม วิทยากรแนะนำมาด้วย พร้อมใบประกาศรับรองทันที สามารถติดต่อ อ.ได้เลยที่ <safetysanook@gmail.com> สอบถามและปรึกษาด้านความปลอดภัย อ.ได้เลย  อ.เป็น อ.พิเศษของศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานฯ



วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

มีจป.ในบริษัทสำคัญจริงหรือเพราะกฎหมาย??

               วันนี้มีคำถาม ว่าจป. คืออะไร บริษัทเราไม่เห็นต้องมีเลย เอ๊ะแล้วทำไม?? บริษัทเรามีหลายคน อ่านมาถึงตรงนี้ จป. คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งอ้างอิงตามกฎหมายกระทรวงกำหนดมาตรฐานฯ พ.ศ.2549 ซึ่งจะแบ่งไว้เป็น 5 ระดับ คือ
1) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
2) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
3) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
4) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง
5) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
               ซึ่งหน้าที่ในแต่ระดับก็มีแตกต่างกันขึ้นกับลักษณะการประกอบกิจการ จำนวนลูกจ้างโดยสามารถแบ่งแยกได้ ดังนี้
1) การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
2) การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่งดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิดแปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น
3) การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
4) การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า
5) สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
6) โรงแรม
7) ห้างสรรพสินค้า
8) สถานพยาบาล
9) สถาบันทางการเงิน
10) สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
11) สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา
12) สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ
13) สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม ข้อ 1) ถึง 12)
14) กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด
ตารางการกำหนดจป.ในระดับต่างๆ

                         ไม่ว่าจะเป็นจป.ระดับไหน ความสำคัญต้องการให้การปฎิบัติงานทุกประเภท นั้นมีความปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุ ไม่มีการเสียชีวิต กลับกันหากไม่มีการตรวจสอบจากกองตรวจฯ บ้างบริษัทก็ยังละเลยที่จะเจ้าหน้าความปลอดภัยในระดับต่างๆ มาให้ครบและถูกต้อง บางบริษัทก็ยังไม่เข้าใจของการหาเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยเข้ามาทำงาน เพียงเพราะกฎหมายหรือมองเห็น สภาวะเสี่ยง เกี่ยวกับงานที่ปฎิบัติในบริษัทนั้นเอง


วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

CPRยุคใหม่...ช่วยผู้อื่นรอดตายได้


        ปัจจุบัน การช่วยชีวิตเบื้องต้นแบบ CPR (Cardio Pulmonary Resuscitation)  ได้รับการยอมรับว่า ปลอดภัย และสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วย ผู้ประสบเหตุฉุกเฉินให้ฟื้นสติ มีโอกาสรอดชีวิตสูง เพราะทุกที่ ทุกเวลา สามารถเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นได้ตลอดเวลา และในการทำงานก่อสร้างโครงการหนึ่ง ต้องเกี่ยวข้องกับคนในงานหลายด้าน หากมีเพื่อนร่วมงานคนใดคนหนึ่งเกิดหมดสติระหว่างการทำงาน  CPR จึงเป็นวิธีการสำคัญที่ผู้ปฎิบัติงานควรต้องรู้ และทำให้เป็น..
            อดีต เราคุ้นเคยกับการช่วยชีวติขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support: BLS) เป็นแนวทางปฏิบัติการพื้นฐาน 3 ขั้นตอน C-A-B (Chest compression-Airway-Breathing) คือ C-การกดหน้าอก กดหน้าอก 30 ครั้ง ช่วยให้มีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนสำคัญ เช่น หัวใจและสมอง ได้ดี >> A- เปิดทางเดินหายใจ >> B- ช่วยหายใจ (B) 2 ครั้ง = 30 : 2 หรือการกดหน้าอก สลับกับการเป่าปากตามจำนวนที่ว่ามา

แต่ปัจจุบันพบว่า การเป่าปากอาจก่อให้ติดเชื้อกับทั้งผู้ช่วยชีวิตและผู้รับการช่วยเหลือ ซึ่งโรคติดต่อจากทางเดินหายใจ (การเป่าปาก) จากคนอื่นที่ไม่ใช่ญาติ หรือคนรู้จักมีสัดส่วนสูง การช่วยชีวิตด้วยวิธีเป่าปากจึงถูกยกเลิกไป นำมาสู่รูปแบบใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นการปั้มหัวใจ (CPR) 100-120 ครั้งต่อนาที ร่วมกับการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจร่วมด้วย(AED) แทน
CPR เป็นการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ด้วยการปั้มหัวใจผู้ป่วย (โดยไม่ต้องมีขั้นตอนการเป่าปาก) ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นกระทันหัน โดยใช้ความเร็วในการปั๊มถี่ขึ้น เพื่อกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้กลับมาทำงานดังเดิม เพราะสมองของคน หากขาดออกซิเจนไปเลี้ยงเกินกว่า 4 นาที จะมีผลทำให้เกิดการสูญเสียของเซลล์สมองบางส่วนไปได้อย่างถาวร แม้หัวใจจะสามารถกลับมาเต้นใหม่ได้ในภายหลัง แต่สมองส่วนที่เสียไปแล้วจะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถฟื้นคืนสติกลับมาได้สมบูรณ์เหมือนเดิมอีก
ขั้นตอนง่ายๆ ของการช่วยเหลือเบื้องต้น หากพบผู้มีอาการหมดสติกระทันหัน หรือขาดออกซิเจนแบบเฉียบพลัน ผู้ช่วยเหลือควรเริ่มจากการประเมินสถานการณ์จริง และสังเกตอาการง่ายๆ จากการหมดสติ ไม่รู้สึกตัว การไม่หายใจ หรือหายใจเฮือก  และการที่หัวใจหยุดเต้น  เมื่อประเมินแล้วว่า CPR ควรเป็นขั้นตอนการช่วยเหลือเบื้องต้นเพื่อใฟ้ผู้ป่วยได้สติคืนมา (การช่วยเหลือนี้เหมาะสำหรับหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป) จึงดำเนินวิธีการ  CPR
วิธีการที่ทุกคนควรเรียนรู้ไว้ เพื่อช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน หรือกรณีประสบเหตุต้องช่วยคนอื่นได้ ดังนี้

1.ประสานมือข้างที่ไม่ถนัดให้อยู่ด้านล่าง

2.สังเกตุจุดกึ่งกลางระหว่างหน้าอก
3.ลำตัวตั้งตรงเหยียดแขนตึงตั้งฉากกับผู้ป่วยพร้อมกดมือลงเป็นจังหวะโดยให้กดต่อเนื่องและสม่ำเสมอให้ลึกลงประมาณ 5-6 เซนติเมตร (กรณีผู้ป่วยอายุ 18ปี ขึ้นไป) กด 100-120 ครั้งต่อนาที สลับกันกับผู้ช่วย
4.เปิดทางลมโดยใช้มือดันข้างขึ้น
5.สังเกตุการขยับตัวเช่น ท้อง หรือหน้าอกมีการขยับไหม หากยังไม่ขยับเหมือนเดิมให้ทำซ้ำใหม่ตั้งแต่ข้อ 1และรอจนกว่าทีมแพทย์ฉุกเฉินจะเข้ามาช่วย
            ทั้งนี้หากมีอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินอื่นประกอบ โดยเฉพาะโรคหัวใจ คือ มีอาการจุกเสียดแน่นตรงกลางหน้าอก อึดอัด หายใจไม่สะดวก ปวดร้าวไปที่คอ แขนซ้าย หรือเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หัวใจอาจหยุดเต้นอย่างกะทันหัน  ควรรีบโทรแจ้งขอความช่วยเหลือมาที่สายด่วน 1669 เพื่อรับคำแนะนำการปฐมพยาบาลอื่นที่จะเป็นการยื้อชีวิตผู้ป่วยไว้ หรือเมื่อผู้ป่วยได้สติจากการปั้มหัวใจ จะต้องหยุดการปั้มหัวใจ ปล่อยให้ผู้ป่วยหายใจเอง รอรถพยาบาลฉุกเฉินจะมาถึง  
การทำ CPR ที่มีประสิทธิภาพนั้น จะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยได้มาก 2-3 เท่า ดังนั้นการเรียนรู้ CPR และทำให้ถูกวิธี จึงสำคัญต่อชีวิตประจำวันในการทำงาน เพราะหากวันหนึ่งเราพบเจอเพื่อนร่วมงานหมดสติ .CPR จะเป็นวิธีที่สามารถยื้อชีวิตเพื่อนร่วมงานไว้ได้อย่างดี



เมื่อการทำงานไม่ได้มีเพียงแต่เรา"ความปลอดภัยเป็นหน้าที่ของทุกคน"

                  จากการก่อสร้าง ทุกๆคนทราบดีว่ามี หลายส่วนงานเข้ามาเกี่ยวข้องในทุกๆงาน  หากแต่วันนี้การเริ่มต้นของการทำงานคือ "คน" เพราะฉะนั้นวันนี้เราจึงต้องสร้างคนและทำความเข้าใจกันก่อนในการทำงานร่วมกัน เพราะแม้การทำงานในหมู่คนที่มีหลายเชื้อชาติ หลายศาสนา ย่อมมีกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ในการทำงานเพื่อให้ความปลอดภัยในการทำงานนั้นเป็นมาตรฐานเดียวกัน และไม่ถูกละเลยแม้กระทั่งปฎิบัติงานนั้นอยู่
                  หากการเริ่มต้นการทำงานของทีม ทุกๆทีมที่ดีเข้าใจ กฎและกติกาให้ความร่วมมือซึ่งกันและกันพร้อมทั้งตระหนักตลอดเวลาในการทำงานว่าความปลอดภัยคือหน้าที่ของทุกคน "จงเริ่มต้นที่ตัวเราเอง" หากเราเองปลอดภัย เพื่อนปลอดภัย อุบัติเหตุต่างๆก็จะลดน้อยลงเพราะเราช่วยกันอย่าเพียงมองข้ามเพราะจุดเล็กๆต่าง เช่น แปปเดียว เอาไว้ก่อน เดียวค่อยทำ ช่างมันฯ ก็จะทำให้เกิดอันตรายและอุบัติเหตุขึ้นได้ มาช่วยกันตั้งแต่วันนี้เพื่อความปลอดภัยในการทำงานกันครับ

การใช้บันไดทรงเอ ให้ปลอดภัย

            เมื่อพูดถึงงานติดตั้ง ซ่อม รื้อ ที่ต้องใช้บันไดทรงเอแล้วเชื่อว่าทุกวันนี้ยังมีหลายๆท่านที่ยังใช้งานผิดวิธีในการปฎิบัติงานวันนี้เ...